ข้อกังวลใจ ของคนทำประกันรถยนต์ แบบเปิด-ปิด ลืมโทรศัพท์จะเปิด-ปิดประกันอย่างไร?| Ae Thanet

 



และแล้ววันนี้ก็เกิดเหตุการณ์จนได้ นั่นก็คือ... ผมขับรถออกจากบ้านโดยลืมเอาโทรศัพท์มือถือขึ้นรถมาด้วย  OMG 😱 ด้วยความที่ว่ารีบร้อนจนเกินไป

ประกันรถยนต์แบบเปิด-ปิด สิ่งที่ขาดไม่ได้คือโทรศัพท์

ขอเกริ่นนิดนึง ปีนี้ผมทำประกันรถยนต์แบบเปิด-ปิด ของไทยวิวัฒน์ เป็นปีของการทดลองใช้ถ้าเวิร์คก็จะใช้ต่อไปยาวๆ อย่างว่าช่วงนี้ยุคโควิด ขับรถไม่บ่อย การหันมาใช้ประกันรถยนต์แบบเปิด-ปิดช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้เยอะเลย ไว้ท้ายๆ บทความจะเล่าให้ฟังนะครับว่าเสียค่าเบี้ยประกันไปเท่าไหร่

เล่าต่อ คือเจ้าประกันรถยนต์แบบเปิด-ปิด เราจะมีแอปพลิเคชันของบริษัทประกันไว้คอยตรวจสอบการทำงานของประกัน เราจะเปิดประกันเมื่อขับรถ และจะปิดประกันเมื่อไม่ขับรถ ซึ่งค่าเบี้ยประกันก็จะคิดตามชั่วโมงการใช้งาน (ชั่วโมงการขับรถ) นั่นเอง

โดยข้อควรระวังอย่างยิ่งสำหรับประกันประเภทเปิด-ปิด ก็คือ  ห้ามลืมเปิดประกันโดยเด็ดขาด เพราะถ้าเกิดอุบัติเหตุขณะที่ไม่ได้เปิดประกันแล้วละก็ เราจะต้องรับผิดชอบเองทั้งหมด อ่านมาถึงจุดนี้อย่าเพิ่งปิดบทความไปก่อนนะครับ จริงๆ มันมีวิธีจัดการ


การเปิด-ปิดประกันรถยนต์ ของไทยวิวัฒน์ สามารถทำได้ 3 วิธี

แอปพลิเคชัน ไทยวิวัฒน์

  • เปิด และปิด แบบ Manual
    วิธีนี้สำหรับคนมีสติ เมื่อสาร์ทรถต้องกดเปิดประกัน ห้ามลืมเด็ดขาด เมื่อดับเครื่องจะต้องปิดประกัน ถ้าลืมปิดชั่วโมงก็จะถูดตัดไปเรื่อยๆ (ถ้าเปิดทิ้งไว้เกิน 2 ชั่วโมงจะมี SMS หรือ Push notification ของแอปมาเตือนครับ หรือถ้าเปิดนานกว่านั้นเจ้าหน้าที่ก็อาจจะโทรมาเตือนเลย แต่วิธีเปิด-ปิดเช่นนี้จะเป็นไปไม่ได้เลย ถ้าลืมโทรศัพท์ไว้ที่บ้าน😟
  • การตั้งเวลาเปิด-ปิดประกัน
    วิธีนี้เหมาะสำหรับคนที่ขับรถเป็น Routine ขับรถไปทำงานเวลาเดิมๆ กลับบ้านเวลาเดิมๆ ก็ตั้งเวลาเปิดปิดประกันไปเลย กันลืม สำหรับผมเองไม่เคยใช้วิธีนี้เพราะว่าเป็นคนขับรถไม่เป็น Routine อยู่แล้ว นึกจะขับตอนไหนก็ขับ 😅
  • TVI Connect

    อุปกรณ์พิเศษที่ไทยวิวัฒน์เขาทำขึ้นมา แค่เราเอามาเสียบในรถยนต์ เวลาเราสตาร์ทเครื่องยนต์อุปกรณ์ตัวนี้จะทำการเปิดประกันให้อัตโนมัติ และเมื่อเราดับเครื่องยนต์อุปกรณ์นี้ก็จะปิดประกันรถยนต์ให้อัตโนมัติเช่นกัน 


TVI Connect มันคืออะไร?

เจ้า TVI Connect เป็นจุดเด่นของประกันรถเปิด-ปิดของไทยวิวัฒน์จริงๆ มันช่วยผมหลายครั้งแล้ว เวลาที่รีบร้อน ก็ไม่เคยลืมเปิด-ปิดประกัน เพราะได้เจ้า  TVI Connect เป็นผู้ช่วยเปิด-ปิดประกันให้ผมตลอด

TVI Connect เป็นการร่วมมือกันระหว่าง ไทยวิวัฒน์ และ เครือข่ายโทรศัพท์มือถือ AIS ซึ่งผมค่อนข้างมันใจว่าเครือข่าย AIS สามารถครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศไทย จากระสบการณ์ส่วนตัวที่เคยตะลอนไปทำงานตามต่างจังหวัดหลายครั้ง พบว่า สัญญาณของ AIS เขาดี ไปที่ไหนก็เจอ ก็เลยใช้อุปกรณ์ตัวนี้ได้อย่างมั่นใจ

ขอบคุณรูปภาพจาก Youtube :Thaivivat Insurance

เจ้า TVI Connect เป็นกล่องสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก มีสาย USB ยื่นออกมาจากกล่องดังรูปเลยครับ โดยเราจะเอาสาย USB ไปเสียบกับแหล่งจ่ายไฟ 5 โวลต์ในรถยนต์ของเรา เมื่อรถยนต์สตาร์ท แหล่งจ่ายไฟในรถยนต์ทำงาน เจ้าอุปกรณ์ตัวนี้ก็จะเริ่มทำงานด้วย และมันจะเชื่อมต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของ AIS แล้วไปทำการเปิดประกัน ซึ่งเมื่อเราเปิดแอปของไทยวิวัฒน์เราจะเห็นเลยว่าประกันของเราเปิดใช้งานแล้ว พร้อมเดินทางได้ กระบวนการนี้ใช้เวลาประมาณ 15 - 30 วินาทีเท่านั้น

และเมื่อเราดับเครื่องยนต์ แหล่งจ่ายไฟในรถยนต์ถูกตัด อุปกรณ์ตัวนี้ขาดไฟ และหลุดการเชื่อมต่อจากเครือข่ายของ AIS ภายในเวลา 1 นาที ประกันก็จะปิดใช้งานครับ ซึ่งมันสะดวกมากๆ


ครั้งแรกที่ลืมเอาโทรศัพท์ขึ้นรถ แล้วจะรู้ได้ไงว่าประกันเปิดแล้ว

ผมเอาเจ้า TVI Connect ซ่อนมิดชิดไว้ในรถยนต์ แม้แต่ผมเองก็ลืมไปแล้วว่าซ่อนไว้ไหน 😂 นี้จึงเป็นการวัดใจว่าระบบของไทยวิวัฒน์จะเสถียรไหม และเมื่อทำธุระเสร็จกลับบ้าน รีบเปิดโทรศัพท์ขึ้นมาดู พบว่าการแจ้งเตือนเปิดและปิดประกันเป๊ะมากกกก 👍 สบายใจได้ ระบบของเขาเสถียรดีจัง

การแจ้งเตือนในแอปไทยวิวัฒน์

คำเตือน TVI Connect ทำงานเสถียรมากๆ ในพื้นที่เปิดตามท่องถนน ลานจอดรถและอาคารต่างๆ แต่จะไม่เสถียรในพื้นที่อับสัญญาณ เช่น ใต้อาคาร เป็นต้น ผมเจอมากับตัวแล้ว จอดรถเสร็จไปประชุมผ่านไปร่วม 2 ชั่วโมง แอปเด้งมาเตือนว่าลืมปิดประกัน แต่สุดท้ายไทยวิวัฒน์เขาก็คืนชั่วโมงให้เหมือนเขารู้ว่ารถไม่มีการเคลื่อนไหว เลยไม่ติดใจหรือโวยวายอะไร 😆

สำหรับเพื่อนๆ ที่อาจจะลืมโทรศัพท์แบบผม อาจจะใช้วิธีดูเจ้าตัว TVI Connect ว่ามีสัญญาณไฟขึ้นหรือยัง ดูว่ามันทำงานหรือยังก็ถือว่าใช้ได้แล้ว แต่ถ้ามีโทรศัพท์จะช่วยเพิ่มความมั่นใจว่าประกันเปิดจริง 

***ควรเช็คว่าประกันเปิดทุกครั้งก่อนขับรถนะครับ


Recap นิดนึงสำหรับค่าเบี้ยประกัน

ผมเริ่มใช้ประกันเปิด-ปิดของไทยวิวัฒน์ตั้งแต่ 31 ธันวาคม 2563 จนถึง ณ บัดนี้ก็เข้าสู่เดือนที่ 8 ไปแล้ว ผมเลือกประกันแบบ Top-up เติมชั่วโมง 50 ชั่มโมง นาน 12 เดือน ทุนประกัน 500,000 บาท เนื่องจากเพิ่งใช้งานครั้งแรกยังไม่รู้ว่าตัวเองขับรถต่อปีใช้เวลากี่ชั่วโมงเลยเลือกแพ็กเกจนี้มาลองใช้ก่อน โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้

  • ซื้อประกันครั้งแรก 6,300 บาท ได้มา 50 ชั่วโมงแรก (ราคาจะแตกต่างกันตามยี่ห้อ รุ่นรถยนต์)
  • เติมครั้งต่อไปทีละ 50 ชม. 400 บาท  ตอนนี้ผมเติมไปแล้ว 4 ครั้ง เป็นเงิน 1,600 บาท
สรุปผมเสียค่าเบี้ยประกันไปแล้ว 6,300+1,600 = 7,900 บาท (ได้มาทั้งหมดรวม 250 ชั่วโมง) 

ซึ่งถ้าพิจารณาความคุ้มค่าแล้ว ปีหน้าผมอาจจะเปลี่ยนไปใช้แบบ Package 12 เดือน ได้ตั้ง 960 ชม. (เฉลี่ยวันละ 2.6 ชั่วโมง) ซึ่งได้ชั่วโมงเยอะกว่าแบบ Top-up มาก น่าจะคุ้มค่ามากกว่าเยอะ
ราคาของรถแต่ละรุ่นแตกต่างกันไป ตรวจสอบราคาได้ที่ www.thaivivat.co.th



ความเห็นส่วนตัวของผมนะครับ ประกันแบบ Top-up เหมาะสำหรับคนที่ขับรถน้อยจริงๆ ปีหนึ่งขับไม่เกิน 250 ชม. จะคุ้มกว่าแบบ Pagkage 


อย่างไรก็ตาม ที่เล่ามาทั้งหมดนั้นเป็นประสบการณ์ใช้งานส่วนตัวล้วนๆ ไม่มีโฆษณาแต่อย่างใด ถ้าชื่นชอบฝากแชร์ด้วยนะครับ 🙏

*****

สำหรับมือใหม่เลือกซื้อประกัน ผมแนะนำบทความที่ผมเขียนก่อนหน้า


สมัยนี้ซื้อประกันออนไลน์เป็นเรื่องที่ง่ายมากๆ เราสามารถเปรียบเทียบประกันภัยรถยนต์ เช็คเบี้ยประกันรถ เปรียบเทียบและทราบรายละเอียดคร่าวๆภายในเวลาไม่กี่นาที สะดวกสะบายจริงๆ ผมขอแนะนำเว็บซื้อประกันออนไลน์ที่ผมรู้จัก เพื่อน ๆ สามารถเข้าไปเช็คเบี้ยประกันได้เลยครับ

Roojai.com - รู้ใจ 


Roojai.com เป็นประกันออนไลน์ที่ขึ้นชื่อว่าขายดีที่สุดในประเทศไทย การันตีถึงที่เกิดเหตุภายใน 30 นาที ฟรีบริการช่วยเหลือฉุกเฉินกรณีรถเสียตลอด 24 ชั่วโมง

เพื่อนๆ สามารถลองเช็คเบี้ยประกันรถกับ Roojai.com ดูก่อนที่จะตัดสินใจแล้วอาจจะพบข้อเสนอที่ดีกว่าก็เป็นได้ครับ



RABBITFINANCE (แรบบิทไฟแนนซ์) ประกันรถยนต์ออนไลน์


แรบบิทไฟแนนซ์ เว็บไซต์เปรียบเทียบประกันรถยนต์จาก 30 บริษัทชั้นนำภายใต้เครือ BTS Group พร้อมอำนวยความสะดวกด้วยการผ่อนชำระเบี้ยประกันภัยดอกเบี้ย 0% นานสูงสุด 10 เดือน โดยไม่ต้องใช้บัตรเครดิต ซึ่งทางแรบบิทไฟแนนซ์เขาโฆษณาว่าประหยัดเบี้ยสูงสุดถึง 70% เพื่อนๆ สามารถเข้าไปลองเช็คข้อเสนอต่างๆ ได้ครับ คลิกเช็คเบี้ยประกัน


แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น